ถึงเวลาต้องทำความรู้จักกับ CEMs แล้วหรือยัง ?

CEMs ตัวภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็กเรียงๆกัน 3-4 ตัวแค่นี้ แต่ดูเป็นเรื่องเข้าใจยากและเฉพาะทาง มากๆ เลยนะครับ ล่าสุดผู้ประกอบการหลายๆท่านถูกบังคับให้ “ต้องรู้จัก” และ “ต้องทำความเข้าใจ” เนื่องจากมีกฏหมายบังคับใช้ออกมาแล้ว ซึ่งรายละเอียดเรื่องประกาศฉบับใหม่ ท่านสามารถอ่านได้จากบทความก่อนหน้านี้ของเรา โดยการ คลิกที่นี่ เลยครับ


บทลงโทษที่ตามมาด้วยในกรณีที่ผู้ประกอบการยังไม่สนใจและไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดฉบับนี้นั้น…
รุนแรงถึงขนาดโรงงานนั้นอาจจะถูกสั่งหยุดการผลิต อาจถึงขั้นถูกสั่งปิดโรงงานได้แบบงงๆเลยครับ



  “ทราบแล้วว่าต้องติดตั้ง CEMs” 

  “ทราบแล้วว่าต้องรายงานผลออนไลน์ตามเวลา” 

  “ทราบแล้วว่าถ้าไม่ทำจะผิดกฏหมาย”


หากพูดถึง CEMs แล้วใครยังทราบอยู่แค่นั้น ขอให้อ่านบทความของวันนี้ต่ออีกสักนิดนะครับ วันนี้เราจะมารู้จักเจ้าเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษ ที่เรียกว่า CEMs ให้มากขึ้นกันครับ 


CEMs หรือ Continuous Emission Monitoring Systems ไม่ใช่ชื่อเรียกอุปกรณ์ตัวเดียว แต่มันคือ ชื่อเรียกของ “ระบบ”


คือการนำเอาอุปกรณ์หลายๆตัว มาประกอบรวมกันเข้าเป็นระบบเพื่อวัดค่าของคุณภาพอากาศ 


ในกระบวนการการทำงานของโรงงานบางประเภทที่มีการปล่อยก๊าซของเสียออกมาจากปล่อง โดยจะประกอบไปด้วย แก๊สที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ เช่น ออกไซด์ของไนโตรเจน , คาร์บอนไดออกไซด์ ,  ออกซิเจน, ไอน้ำ รวมถึงแก๊สอื่นๆ ที่ถือเป็นแก๊สอันตราย อันได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ,ไฮโดรเจนคลอไรด์ ,  ปรอท , ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ,กรดไฮโดนฟลูออริก ฯลฯ โดยอุปกรณ์จะทำการวัดค่าความเข้มข้นของแก๊สต่างๆเหล่านี้ในหน่วยส่วนในล้านส่วน 

ค่าความเข้มข้นของแก๊สเหล่านี้ ทำให้เราประเมินคุณภาพของอากาศได้ล่วงหน้าว่าจะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใดได้ และสามารถใช้ประเมินความปลอดภัยของสภาพอากาศในการทำงานได้อีกด้วย 


ในปัจจุบันนั้น CEMs จะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือแบบ Extractive System และ แบบ In-Situ System  

หลักการทำงานโดยทั่วไปอธิบายแบบง่ายๆ คือ แบบนึงจะทำการดึงตัวอย่างไปวิเคราะห์ที่จุดติดตั้งระบบ อีกแบบจะทำการวิเคราะห์ที่ปล่องหรือแหล่งปล่อยก๊าซเลย แต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียและความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป 


“กฏหมายกำหนดให้โรงงานต่างๆที่มี Furnaces; Boilers; Steam Turbine Generators; Engine Exhausts; Incinerators; เป็นส่วนประกอบของการผลิต อันได้แก่ โรงไฟฟ้า โรงกลั่น โรงปิโตรเคมี รวมถึงโรงงานที่ถูก *EIA กำหนดให้ต้องรายงานค่าคุณภาพอากาศแบบต่อเนื่อง จะต้องทำการติดระบบ CEMs เพื่อส่งค่าความเข้มข้นของแก๊สต่างๆเข้าสู่ระบบรายงานผลส่วนกลางของกรมโรงงานตลอดเวลาหรือไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อวัน”



จะเห็นได้ว่า CEMs เป็นระบบที่ต้องทำงานเกือบจะตลอดทั้งวัน จำเป็นต้องการความเสถียรอย่างมากเลยนะครับ หากตัวเครื่อง ส่วนใดส่วนหนึ่งในระบบ หรือการตรวจจับแก๊สต่างๆทำงานได้ไม่ดี ไม่มีคุณภาพ หรือผิดพลาด จะส่งผลให้การแปลผลระดับมลพิษผิดพลาด เกิดความเสี่ยงได้ ผู้ประกอบการควรตรวจสอบการทำงานของเครื่องและจัดให้มีการบำรุงรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจตามมาภายหลังครับ


ในบทความครั้งหน้าผมจะพาทุกท่านไปเรียนรู้ส่วนประกอบหลักของระบบ CEMs กัน รู้ไว้บ้างอาจจะช่วยป้องกันไม่ให้ท่านโดนหลอกติดตั้งอุปกรณ์เกินความจำเป็นได้นะครับ เพราะราคาของการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อสร้างระบบตรวจวัดเหล่านี้ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว



หมายเหตุ     *EIA คือ การจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อคาดการณ์ผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบจากการพัฒนาโครงการหรือกิจการที่สำคัญ เพื่อกำหนด มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ในการประกอบการตัดสินใจ พัฒนาโครงการหรือกิจการดังกล่าว ทั้งนี้หากการประเมิณโครงการพบว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนั้นๆจะต้องมีมาตราการควบคุม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้